วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อาณาจักศรีวิชัย


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(สำริด)

พบที่หน้าวัดพระมหาธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14-15

อาณาจักรศรีวิชัย ตามความเชื่อและสันนิษฐานของนักโบราณคดีว่ามีความเจริญอยู่ระหว่าง

พุทธศตวรรษของนักโบราณคดีว่ามีความเจริญอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 มีอาณาเขตตั้งแต่

บริเวณภาคใต้ของไทยไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวา แต่ศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักรนั้น

นักโปราณคดีต่างก็ให้ข้อคิดเห็นไปต่างๆ กัน เช่นศาตรจารย์ยอร์ว เซเดส์ ว่าอยู่ที่ปาเล็มบังในเกาะสุมา -

ตรา นายมาร์ชุมดา ว่า อยู่แนวอำเภอไชยา สุราษฤชฎร์ธานี ส่วน ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ว่าน่าจะอยู่แถว

สุราษฎร์ธานี ถึงนครศรีธรรมราช แต่จดหมายเหตุราชวงค์ถังที่เพิ่งสอบทานใหม่ว่าอยู่ราวเส้นรุ้งที่ 6

องศา 7 ลิปดาเหนือ ถ้าหากการคำนวญนี้ถูกต้องก็แสดงว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยจะอยู่ไม่ต่ำกว่า

จังหวัดปัตตานีลงไป

เมืองที่น่าสนใจที่พ่อค้าจีนมักจะพูดถึงเสมอคือ เมืองเซโจถึง ซึ่งเข้าใจว่าคืออำเภาสะทิงพระ

จังหวัดสงขลา ปัจจุบันเมื่อดูจากภาพถ่ายทางอากาศจากบริเวณ อำเภอสะทิงพระขึ้นไปจนถึงผาหัวแดง

อำเภอเมืองสงขลา จะเห็นว่าภายในเขตเมืองมีระบบการชลประทานที่ดีมาแล้วแต่โปราณคือ การขุดตระ

พัง หรือสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อเก็บน้ำจืดเป็นระยะ ๆ และมีคลองเชื่อมต่อถึงกันดูเป็นเส้นตรง ปัจจุบัน

ร่องรอยของเมืองถูกทับถมอยู่ใต้พื้นทราย แต่ก็ได้พบประติมากรรมหลายชิ้นจากบริเวณนี้



พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย

ประทับบนบัลลังก์มีซุ้มเรือนแก้ว และประภามณฑล มีศักติขนาบ 2 ข้าง มีสิงห์รองรับบัลลังก์ 2 ตัว ศิลปศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางค้าขายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้

พบของใช้ของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายเช่น เหรียญกษาปณ์ ของชาวเฟอร์นิเชีย ลูกปัดโรมันที่ทุ่งตึก

จังหวัดพังงา ที่ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้ว อาณาจักรศรีวิชัยยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดใน

แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ลักษณะศิลปะกรรมภาคใต้หรือศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธ-

ศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบรูปพระโพธิสัตว์ เช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมนไตรย

โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และนิยมสร้างนางคู่บารมีของพระโพธิสัตว์หรือที่เรียกว่า "ศักติ" ด้วย

เช่น นางตรา นางปรัชญาปารมิตา หรือนางปัญญาบารมี นอกจากนี้ยังได้พบศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา

พราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นิยมสร้างรูปพระศิวะหรือพระอิศวร พระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระพรหม

และพิฆเณศวรหรือคณาบดี นอกจากนี้ก็นิยมสร้างศักติของพระเป็นเจ้าเหล่านี้เช่นเดียวกับศักติของพระ

โพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานคือพระอุมา หรือนางปรรพตีเป็นศักติของพระอิศวร พระลักษมี

เป็นศักติของพระนารายณ์ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น: